เวลาพูดถึงคำว่าสินเชื่อทุกคนก็คงจะรู้ดีว่านี่คือการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้ในสิ่งที่ผู้กู้นั้นต้องการ ซึ่งโดยปกติแล้วการกู้ยืมเงินนั้นสามารถทำได้ทั้งจากตัวบุคคลหรือสถาบันการเงินทั่วไป เวลาที่เราเห็นคนอื่นเรียกว่ากู้สินเชื่อนั้นแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ลองมาทำความรู้จักประเภทของสินเชื่อเพื่อจะได้เอาไว้ศึกษาก่อนการตัดสินใจกู้เงิน
- สินเชื่อที่ถูกแบ่งตามระยะเวลาการกู้
- สินเชื่อที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เช่น บัตรเครดิต, สินเชื่อทางการค้า เป็นต้น
- สินเชื่อระยะกลาง คือสินเชื่อที่มีระยะเวลา 1-5 ปี เช่น ผ่อนรถยนต์ ผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
- สินเชื่อระยะยาว คือสินเชื่อที่มีระยะเวลาการผ่อนตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นพวกอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม
- สินเชื่อที่ถูกแบ่งตามวัตถุประสงค์
- สินเชื่อสำหรับการบริโภค คือสินเชื่อที่ให้กับบุคคล เพื่อนำมาใช้ในการบริโภค เช่น การให้สินเชื่อผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า, เปิดร้านอาหาร เป็นต้น
- สินเชื่อเพื่อการลงทุน คือ สินเชื่อที่ถูกปล่อยเพื่อให้นำไปลงทุนทำเป็นกิจการหารายได้ สินเชื่อนี้อาจจะมีระยะเวลาค่อนข้างนานเพราะเป็นเงินก้อนใหญ่
- สินเชื่อเพื่อการค้าและพาณิชย์ ส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อที่ถูกปล่อยสำหรับการซื้อขายวัตถุดิบ อาจจะเป็นการเอาของไปก่อนและนำเงินมาจ่ายทีหลัง เป็นต้น
- สินเชื่อที่ถูกแบ่งตามผู้ที่มาขอรับสินเชื่อ
- สินเชื่อสำหรับตัวบุคคล คือ สินเชื่อทั่วๆ ไปที่ปล่อยให้กู้เพื่อตัวบุคคล อาทิ สินเชื่อจากบัตรเครดิต, สินเชื่อการให้กู้ซื้อรถยนต์ เป็นต้น
- สินเชื่อสำหรับธุรกิจ คือ สินเชื่อที่ถูกปล่อยออกมาให้ธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ ได้กู้ยืมเพื่อนำไปลงทุนทางการค้าและมีผลกำไรกลับมาสู่ธุรกิจ
- สินเชื่อสำหรับรัฐบาล ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในกรณีที่เศรษฐกิจของประเทศมีปัญหาทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องมีการกู้ยืมเงินซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบต่างๆ ได้ อาทิ พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วเงินการคลัง เป็นต้น
- สินเชื่อที่ถูกแบ่งตามผู้ที่ให้สินเชื่อ
- ตัวบุคคลคือผู้ให้สินเชื่อ เรื่องนี้ก็ง่ายๆ คือการที่คนทั่วไปให้ยืมเงินซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ญาติพี่น้อง หัวหน้า ลูกน้อง
- สถาบันการเงินคือผู้ให้สินเชื่อ อันนี้เราก็เห็นได้โดยทั่วไปว่าสถาบันการเงินที่ไหนบ้างที่ปล่อยสินเชื่อและสถาบันการเงินแต่ละที่ก็จะมีนโยบายรวมถึงวัตถุประสงค์ในการปล่อยไม่เหมือนกัน
- องค์กรอื่นๆ คือผู้ให้สินเชื่อ อาทิ มูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไร, สหกรณ์ เป็นต้น
- สินเชื่อที่ถูกแบ่งตามหลักประกัน
- สินเชื่อที่ไร้หลักประกัน ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปที่ความน่าเชื่อถือของตัวบุคคล ซึ่งอาจจะพิจารณาจากความรู้จัก นิสัยใจคอ
- สินเชื่อแบบที่มีหลักประกัน ก็ไม่มีอะไรยากเพียงแค่มีหลักประกันมาเป็นตัวค้ำประกันเอาเงินสดไปใช้ อาทิ ที่ดิน บ้าน รถ เป็นต้น